คำแถลงนโยบายฉบับนี้เป็นกรอบเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บในแอปพลิเคชันมายม๊อบ (MyMOPH)
ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) (ผู้ควบคุมข้อมูล หรือ Data Controller)
ดูแลโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศทส.) ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า แอป.
และเพื่อแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผย (รวมเรียกว่า “การประมวลผล”)
รวมตลอดถึงการลบ และทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน แอป. ตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด ดังนี้
1. วัตถุประสงค์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- 1.1 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการยืนยันตัวตน (Authenticate) สำหรับบุคลากรสาธารณสุข เพื่อเข้าใช้ (Login)
ระบบโปรแกรมต่าง ๆ ของ สป.สธ.
- 1.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานของรัฐ ลูกจ้างประจำ) ที่สังกัดส่วนกลาง สป.สธ.
ใช้ดูข้อมูลเงินเดือนจากฐานข้อมูลเงินเดือน ที่อยู่ในความดูแลของกองบริหารการคลัง สป.สธ.
- 1.3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ดูข้อมูลประวัติการรับราชการที่จัดเก็บอยู่ในระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HROPS)
ของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สป.สธ.
- 1.4 เพื่อใช้เก็บบัตรข้าราชการ บัตรพนักงานของรัฐ ในรูปแบบบัตรดิจิทัล
2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
- 2.1 ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด อายุ เพศ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่
ช่องทางติดต่อในสื่อสังคมออนไลน์ สถานที่ทำงาน เป็นต้น
- 2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับงานของท่าน เช่น อาชีพ ตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัด เป็นต้น
- 2.3 ข้อมูลด้านเทคนิคและการใช้ข้อมูล เช่น IP Address เป็นต้น
3. ข้อมูลส่วนบุคคลชนิดพิเศษ
- 3.1 อาจมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลชนิดพิเศษ
เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้
- 3.2 อาจต้องประมวลผลข้อมูลข้อมูลชีวภาพ (biometric data) เช่น ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า
เพื่อใช้ในการระบุและยืนยันตัวตน
4. การกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล
ปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พุทธศักราช 2562 (PDPA)
ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้กำกับดูแลกฎหมาย PDPA
5. ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
- 5.1 จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามประเภทข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท
เว้นแต่กฎหมายจะอนุญาตให้มีระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้น
ในกรณีที่ไม่สามารถระบุระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลได้ชัดเจน
เราจะเก็บรักษาข้อมูลไว้ตามระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม (เช่น อายุความตามกฎหมายทั่วไปสูงสุด
10 ปี)
- 5.2 กรณีที่ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลโดยขอความยินยอม
จะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจนกว่าเจ้าของข้อมูลจะแจ้งขอยกเลิกความยินยอม
- 5.3
มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาหรือที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
6. สิทธิ์การเข้าถึงต่างๆ
- 6.1 กล้อง (CAMERA) แอป. ต้องการเข้าถึงกล้อง เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งาน
- 6.2 External storage แอป.
ต้องการการเข้าถึงเพื่ออ่านและเขียนที่จัดเก็บข้อมูลภายนอกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ในกรณีที่มีการบันทึกสุขภาพ
สำหรับการเขียน ระบบจะบันทึกภาพลงในอุปกรณ์ของผู้ใช้หลังจากถ่ายภาพ
7. มาตรการความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล
- 7.1 สป.สธ. จะดำเนินการรักษาความลับ ความถูกต้องครบถ้วน
ครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการมาตรการป้องกันด้านเทคนิค
และมาตรการป้องกันทางกายภาพในเรื่องการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วน บุคคล
ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- 7.2 กำหนดนโยบายรักษาระยะเวลาการเก็บข้อมูล และการทำลายเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล
ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดกฎหมาย
- 7.3 การส่งหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ให้บริการภายนอก หรือทำ Data Processing Agreement
เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมาย PDPA
- 7.4 มีกระบวนการรับคำร้องจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
8. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- 8.1 จะเปิดเผยและแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานระบบกับหน่วยงานภายใต้ผู้ควบคุมข้อมูลเดียวกัน
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้
- 8.2
มีการกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลมีมาตรการปกป้องข้อมูลอย่างเหมาะสมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
และดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ
9. สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สรุปดังนี้
- 9.1 ถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้เพื่อประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- 9.2 ขอดูและคัดลอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือขอให้เปิดเผยที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
- 9.3 ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น
- 9.4 คัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง
- 9.5 ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ (anonymous)
- 9.6 ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- 9.7 แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
- 9.8 ร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทั้งนี้ จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลโดยเร็วภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอดังกล่าว และสิทธิตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นไปตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด
10. ช่องทางการติดต่อ การแจ้งการร้องเรียน การขอข้อมูลส่วนบุคคล โดยแจ้งผ่านทางช่องทาง ดังนี้
-
10.1 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ติดต่อ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 2 ชั้น 1 เลขที่ 88/20 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตําบลตลาดขวัญ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
อีเมล ictmoph@moph.go.th
โทรศัพท์ 0 2590 1208
เว็บไซต์ https://ict.moph.go.th
-
10.2 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO: Data Protection Officer)
ติดต่ออีเมล dpo@moph.go.th
โทรศัพท์ 0 2590 2180 ต่อ 112, 316 หรือ 0 2590 1213
เว็บไซต์ https://pdpa.moph.go.th